เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 56. จิตตทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์โดย
วิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นจิตและที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตโดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)

อัตถิปัจจัย
[83] สภาวธรรมที่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตโดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตโดยอัตถิปัจจัย
มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตโดยอัตถิปัจจัย มี 2
อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่จิตโดยอัตถิปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย ย่อ) (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและที่ไม่เป็นจิตโดย
อัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 จิต และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นจิต ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ (ปัจจัยนี้
เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย ย่อ) (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :48 }